วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การใช้งาน Flask ในการพัฒนา Web Application


Flask (คำอ่าน ฟลาซค์) คือ Web Framework ที่เขียนขึ้นมาสำหรับ Python เพื่อใช้เป็น เว็บเซิร์ฟเวอร์ ง่ายๆ ในการพัฒนา Web Application เพื่อควบคุมสิ่งต่างๆในบ้าน เช่น ควบคุมหุ่นยนต์  ผ่านทางอินเทอร์เน็ต  ด้วยภาษา HTML

เราจะใช้ Raspberry Pi เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ สั่งควบคุมผ่านทางเว็บเพจ ไปสั่งงาน GPIO ของ ราสเบอร์รี่เพื่อสั่งควบคุมหุ่นยนต์ โดยจะใช้ได้กับระบบอินทราเน็ต ที่ใช้ WiFi  หรือ วง แลน หรือใช้ เร้าเตอร์ เดียวกัน เท่านั้น

ในตัวอย่างด้านล่างจะแสดงการทำงาน ที่ประสานงานกัน ระหว่าง  html  กับ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python โดย html มีหน้าที่แสดงผล ส่วนการทำงานมาจาก Python

1. ติดตั้ง Flask และ โปรแกรมแรก Hello, World! 


เปิดโปรแกรม เทอมินอล (Root Terminal)




แล้วใช้คำสั่ง 
sudo apt-get install python3-flask



ถ้า Flask ถูกติดตั้งอยู่แล้วจะแสดงดังภาพด้านล่าง


สร้างโฟลเดอร์ เช่น WebApp ด้วยคำสั่ง mkdir WebApp


เข้าไปในโฟลเดอร์ WebApp ด้วยคำสั่ง cd WebApp


สร้างโฟลเดอร์ static ด้วยคำสั่ง mkdir static


สร้างโฟลเดอร์ templates ด้วยคำสั่ง mkdir templates (แล้วปิดหน้าต่างลงไป)


และ เมื่อเข้าไปตรวจสอบที่ File Manager จะพบ โฟลเดอร์ ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ดังรูป (แล้วปิดหน้าต่างลงไป)



1.2. เขียนโปรแกรมด้วย Geany Programmer's Editor


ไปที่ Menu -> Programming -> Geany Programmer's Editor



Geany เป็นโปรแกรมแก้ไขข้อความ หรือที่เรียกว่า โปรแกรม Text Editor ที่ใช้เทคโนโลยีของ GTK2 ที่มีคุณสมบัติและความสามารถมากมาย โดยโปรแกรมนี้สามารถใช้เขียนโปรกรมภาษา  C, Java, PHP, HTML, Python, Perl, Pascal เป็นต้น



1.2.1 สร้างไฟล์  pi/WebApp/templates/index.html

*.html คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language

เขียนโค้ดดังนี้



<!DOCTYPE html>
   <head>
      <title>{{ title }}</title>
   </head>

   <body>
      <h1>Hello, World!</h1>
      <h2>The date and time on the server is: {{ time }}</h2>
   </body>
</html>



ไปที่ File -> Save As



เลือกไปที่ pi/WebApp


เลือกไปที่ pi/WebApp/templates



ตั้งชื่อไฟล์เป็น index.html


เมื่อ Save เสร็จ Tag ของ html จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน




1.2.2 สร้างไฟล์  pi/WebApp/helloworld.py

*.py คือ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python


ไปที่ File -> New



เขียนโค้ดดังนี้

'''
Code created by Matt Richardson
for details, visit: <a href="http://mattrichardson.com/Raspberry-Pi-Flask/index.html"> http://mattrichardson.com/Raspberry-Pi-Flask/inde...</a>
'''

from flask import Flask, render_template
import datetime
app = Flask(__name__)

@app.route("/")
def hello():
   now = datetime.datetime.now()
   timeString = now.strftime("%Y-%m-%d %H:%M")
   templateData = {
      'title' : 'HELLO!',
      'time': timeString
      }
   return render_template('index.html', **templateData)

if __name__ == "__main__":
   app.run(host='0.0.0.0', port=80, debug=True)


ไปที่ File -> Save As


Save ไปที่ pi/WebApp/ ตั้งชื่อไฟล์เป็น helloworld.py


เมื่อ Save เสร็จ สีของโค้ด จะเปลี่ยนเป็นสีในรูปแบบของภาษา Python


และ เมื่อเข้าไปตรวจสอบที่ File Manager  ในโฟลเดอร์ WebApp จะพบไฟล์ helloworld.py ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ดังรูป


และ เมื่อเข้าไปตรวจสอบที่ File Manager  ในโฟลเดอร์ templates จะพบไฟล์ index.html ที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ดังรูป



2. การเซ็ต เวลาประเทศไทย ให้กับ Raspberry Pi


เวลา บอร์ด Raspberry Pi โดยพื้นฐานถ้าไม่มีการตั้งค่าใหม่จะแสดงเป็นเวลาของต่างประเทศ ถ้าต้องการให้ บอร์ด Raspberry Pi แสดงเวลา เป็นเวลาของประเทศไทย ต้องทำการตั้งค่าให้ใหม่ โดยทำตามขั้นตอนนี้

เปิดโปรแกรม เทอมินอล (Root Terminal) แล้วใช้คำสั่ง sudo raspi-config



ที่ Keyboard  ใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลงเพื่อเลื่อนไปยังตัวเลือกที่ต้องการ และเลือกด้วยปุ่ม Enter

เลือกไปที่ Localisation Opyions




เลือกไปที่ Change Timezone


เลือกไปที่ Asia


เลือกไปที่ Bangkok


เลือกไปที่ Ok


กดปุ่มลูกศรทางขวา เลื่อนไปที่ Finish  -> กด Enter


ค่าพื้นฐานการแสดงเวลา จะเปลี่ยนเป็นเวลาของประเทศไทยแล้ว ปิดหน้าต่างลงไป



3. ตรวจสอบ IP ของ Raspberry Pi



เปิดโปรแกรม เทอมินอล (Root Terminal) 
แล้วใช้คำสั่ง ifconfig





ในตัวอย่างจะได้ หมายเลข IP ของ Raspberry Pi คือ 192.168.1.39 (IP ที่ได้แต่ละครั้งอาจไม่เหมือนกัน ให้ตรวจสอบทุกครั้งที่มีการเชื่อมต่อใหม่)



4. ทดสอบการทำงาน

เปิดโปรแกรม เทอมินอล (Root Terminal) แล้วใช้คำสั่ง cd WebApp


ใช้คำสั่ง 
sudo python3 helloworld.py


จะแสดงดังรูป



เปิดบราวเซอร์ คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ WiFi  หรือ วง แลน หรือใช้ เร้าเตอร์ เดียวกัน

ที่ URL คีย์ http://และตามด้วย IP ที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 ในตัวอย่างคือ http://192.168.1.39/

บราวเซอร์  จะแสดง ข้อความที่เราเขียนจาก index.html ส่วนวันเวลาจะนำของมูลจาก helloworld.py คือ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python  มาแสดง นั่นเอง


ถ้าต้องการออกจากโปรแกรม หรือ ยกเลิกการทำงาน ให้กด Ctrl พร้อมกับ c


..

1 ความคิดเห็น: